วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2566

จุดสำคัญ-พระสมเด็จวัดเกษไชโยพิมพ์หกชั้นอกตัน


 

นอกจากเนื้อหามวลสารแล้ว มาดูจุดพิจารณาของพิมพ์ 6 ชั้นอกตัน คือ 

1.เส้นกรอบกระจก ด้านขวาขององค์พระจะสูงกว่าด้านซ้ายเล็กน้อย 

2.เส้นซุ้ม ด้านบนตรงกลางจะมีเนื้อหนากว่าทั้ง 2 ข้าง และมีลักษณะโค้งได้รูปสวยงามเหมือนพิมพ์ 7 ชั้น

3.พระเกศ มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยเรียวเล็กจรดเส้นซุ้ม

4.พระพักตร์(ใบหน้า) ลักษณะเป็นรูปไข่

5.พระกรรณ(หู) ลักษณะเหมือนพระจันทร์เสี้ยว 

6.เส้นลำองค์พระจะเหมือนรากฟันยาวลงมาจรดมือ 

7.บริเวณลำคอจะมีเส้นขีดเล็กในองค์ที่ติดชัด 

8.แขนขวาเป็นวงโค้งกว่า และเนื้อหนากว่าแขนซ้าย

9.ช่องว่างของแขนด้านขวาองค์พระ จะกว้างกว่าด้านซ้ายอย่างเห็นได้ชัด

10.การหักศอกของแขนทั้งสองฝั่งจะไม่เท่ากัน ที่สำคัญต้องส่องเห็นความลึกในพิมพ์เป็นมิติ

11.หน้าตักลักษณะคล้ายรูปเรือและเข่าด้านซ้ายองค์พระจะสูงกว่าด้านขวาเล็กน้อย

12.นอกเส้นซุ้มฝั่งซ้ายมือองค์พระช่วงล่างตั้งแต่ฐานชั้นที่ 1 ลงมาสังเกตที่นอกเส้นซุ้มจะมีร่องเป็นทางยาว

13.ฝั่งขวามือองค์พระมีร่องยาวระหว่างเส้นซุ้มด้านนอกและกรอบกระจก

14.เส้นฐานทั้งหมด 6 ชั้น และแต่ละชั้นค่อนข้างอวบ ส่วนปลายแหลมเรียวทั้งสองข้าง ช่องว่างระหว่างฐานมีความลึกเป็นมิติ

15.ใต้เส้นซุ้มฝั่งขวาองค์พระล่างสุด ในองค์ที่ติดชัดเอียงขึ้นมาจะเห็นเส้นแตกเรียวเล็กอ่อนพลิ้ว 1 เส้น

16. ขอบพระจะมีรอยขัดแต่งอย่างชัดเจนทุกด้าน และมีมองเห็นเป็นลักษณะ 2 ชั้น

17. รูพรุนจะปรากฏทั่วทั้งหน้าและหลัง อันเกิดจากอินทรีย์สารเช่นกล้วย ข้าว เกสรดอกไม้ต่างๆ ที่สมเด็จโต ท่านนำมาเป็นส่วนผสม ย่อยสลายและหลุดไปตามกาลเวลาของอายุพระเครื่อง 150 กว่าปี

18.ด้านหน้าและด้านหลังจะมีเม็ดมวลสารกระจายอยู่ทั่วขนาดไม่เท่ากัน เป็นไปตามธรรมชาติและมีหลุมบ่ออันเกิดจากเม็ดมวลสารที่หลุด หรือย่อยสลายไปตามธรรมชาติ

19.ด้านหลังจะมีรอยนิ้วมือและรอยขัดแต่งจุดพิจารณา ที่สำคัญอีกจุดคือรอยเนื้อเน่าที่เป็นจ้ำๆต่างๆ อันเกิดจากส่วนผสมน้ำมันตังอิ๊ว ตัวประสานที่ระเหิดไปกาลเวลาและทิ้งร่องรอยไว้

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

จุดสังเกตุพระหลวงพ่อปานขี่ปลา




 

จุดสังเกตุพระหลวงพ่อปานขี่นก







 

จุดสังเกตุพระหลวงพ่อปานขี่เม่น





 

จุดสังเกตุพระหลวงพ่อปานขี่หนุมาน